Skip to main content

แผนพัฒนาแรงงาน

 หลักการและเหตุผล

              1. จากการที่ได้มีการจัดทําแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2550 และกําหนดให้มียุทธศาสตร์การดําเนินงาน 5 ยุทธศาสตร์ และ 1โครงการสําคัญ  ทําให้สามารถมองเห็นทิศทางการทํางานของกระทรวงแรงงานในปีงบประมาณ 2550  เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ  ในขณะนั้นที่มุ่งเน้นการสร้างความสมานฉันท์และการส่งเสริมค้านิยมคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมให้สูงขึ้นและผลการดําเนินงานตามแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2550 ก็บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้  ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2551   กระทรวงแรงงานจึงได้จัดทําแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2551 ขึ้น  เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดําเนินงานเหมือนเช่นปีที่ผ่านมา  โดยแผนพัฒนาแรงงานฯ ดังกล่าวจะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงาน สถานการณ์เศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานและสถานการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยต่อการกําหนดยุทธศาสตร์การดําเนินงานด้านแรงงานในปี 2551
             2. จากรายงานการศึกษาผลกระทบจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีต่อแรงงานของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ที่นําเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการปรับตัวของธุรกิจรายสาขา ครั้งที่ 1/2550  เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 ระบุว่าปัจจุบันสถานการณ์ด้านการจ้างงานยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ  โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำแต่แรงงานยังมีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีการยกระดับเทคโนโลยีตามห่วงโซ่มูลค่าอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งสะท้อนความต้องการแรงงานไม่เพียงแค่ปริมาณ แต่เป็นเรื่องคุณภาพที่มีความสําคัญทั้งองค์ความรู้ ทักษะและทัศนคติที่สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างการผลิต ในด้านของความต้องการแรงงาน จากการสํารวจของสํานักงานสถิติแห่งชาติในปี 2549 พบว่า สาขาการผลิตที่มีความต้องการสูงสุด  คือ  สาขาการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  รองลงมา  คือ  สาขาการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม   สําหรับภาวการณ์ขาดแคลน (หมายถึง ไม่สามารถหาแรงงานได้ตรงตามความต้องการตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป)  พบว่า  สาขาการผลิตที่มีปัญหามากที่สุด  คือ  สาขาการผลิตอาหารและอาหารสัตว์และสาขาการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม  ในส่วนของความต้องการแรงงานกับระดับการศึกษา พบว่า แรงงานระดับมัธยมหรือต่ำกว่า  มีความต้องการสูงสุด (ร้อยละ 67.3)  รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า (ร้อยละ 17.4) ที่เหลือเป็นความต้องการแรงงานระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา (ร้อยละ 9.5) และระดับ ปวช. (ร้อยละ 5.81)  สําหรับการขาดแคลนแรงงาน  พบว่า  มีการขาดแคลนแรงงานระดับมัธยมหรือต่ำกว่า  สูงที่สุด (ร้อยละ 82.2)  รองลงมาเป็นแรงงานระดับ ปวช. (ร้อยละ 4.2)  ที่เหลือเป็นแรงงานระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา (ร้อยละ 2)  และปริญญาตรีหรือสูงกว่า (ร้อยละ 1.8) 
             3. จากการที่กระทรวงแรงงานได้ว่าจ้างมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดําเนินการจัดทําแผนแม่บทด้านแรงงาน พ.ศ. 2550-2554 ซึ่งได้วิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ตลาดแรงงานใน 5 ปีข้างหน้า มีสาระสําคัญสรุปได้ว่าในช่วงปี 2550-2554 ภาคเศรษฐกิจของประเทศยังสามารถดูดซับแรงงานเพิ่มขึ้นได้ทุกปีๆ ละ 37.0 ล้านคน การจ้างงานรายสาขายังมีแนวโน้มคล้ายกับในอดีต คือ การจ้างงานในสาขาเกษตรลดลงโดยลำดับ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเริ่มประสบปัญหาจํานวนการจ้างงานลดลง ซึ่งการลดลงของการจ้างงานกระจายไปเกือบทุกสาขาการผลิตภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมแต่สาขาที่มีการจ้างงาน เพิ่มขึ้นเด่นชัด คือ ภาคบริการโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม และภัตตาคาร และโลจิสติกส์การที่จะรักษาระดับการจ้างงานเอาไว้ในระดับนี้ได้ ขึ้นกับผลของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศว่ายังสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ สําหรับการคาดการณ์อุปทานของผู้จบการศึกษาช่วงปี 2550-2554  โดยใช้โมเดลของสถาบันวิจัยฯ พบว่าแนวโน้มในอนาคตจะมีผู้จบการศึกษาระดับมัธยมเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลง เช่นเดียวกับสายอาชีพระดับ ปวช. และ ปวส. ส่วนแนวโน้มในอนาคตที่เพิ่มขึ้น คือ ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าในทุกสาขาจากการพิจารณาข้อมูลโครงสร้างการจ้างงานและผู้จบการศึกษาในอนาคตจะมีลักษณะสวนทางกัน กล่าวคือ ความต้องการของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ต่อแรงงานในระดับประถมและมัธยมศึกษามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีแต่อุปทานของแรงงานในระดับล่างกลับมี แนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลถึงการขาดแคลนแรงงานระดับล่างอย่างแน่นอน ถ้าภาคเศรษฐกิจไม่มีการปรับโครงสร้างที่จะใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงานระดับนี้มากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนไปจ้างแรงงานในระดับอุดมศึกษา

             4. สําหรับสถานการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานที่สําคัญ ได้แก่ สถานการณ์การเลิกจ้าง/ปิดกิจการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อันเนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองความเชื่อมั่นของนักลงทุน การแข็งค่าของเงินบาท ความผันผวนของราคาน้ำมัน ภาวะฟองสบู่แตกของวงการอสังหาริ มทรัพย์ในต่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศคู่ค้าหลักของไทย และต้นทุนการประกอบการไม่สอดคล้องกับปริมาณการสั่งซื้อกับราคาขาย และการแข่งขันในตลาดสินค้าบริการในและนอกประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น กอรปกับสถานการณภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่น อุทกภั ภัยแล้ง เป็นต้น และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้ผู้ประกอบการที่ไม่เข้มแข็งและไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ มีแนวโน้มจะไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ หลายแห่งอาจต้องลดกําลังการผลิต ต้องปิจการ หรือย้ายฐานการผลิต ซึ่งมีผลให้เกิดการเลิกจ้างลูกจ้าง ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับความเดือดร้อนว่างงาน จึงเป็นภาระที่กระทรวงแรงงานจะต้องเข้าไปดูแลช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิประโยชน์ค่าชดเชยตามกฎหมายจัดหางานใหม่ให้ทำ รวมทั้งการฝึกทักษะพัฒนาฝีมือหรือแนะแนวอาชีพ เพื่อให้สามารถทำงานอาชีพใหม่ได้
             5. เนื่องจากกระทรวงแรงงาน มีภารกิ จสําคัญที่ จะต้องดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานในระบบ ประมาณ 10 ล้านคน และกําลังขยายความคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ อีกประมาณ 23 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการส่งเสริมให้ประชาชนอีกไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน ให้มีงานทํา หรือมีความรู้ทักษะความสามารถ มีโอกาสได้งานทํา มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง โดยการฝึกอาชีพพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดหางานและแนะแนวอาชีพให้แก่ผู้ว่าง นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ต้องการเปลี่ยนงาน ประมาณ 1 ล้านคน ดูแลแรงงานไทยที่ไปทํางานในต่างประเทศ รวม 11 ประเทศ อีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน และแรงงานสูงอายุ แรงงานพิการอีกจํานวนหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสุดท้าย เพื่อให้มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุด  แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีความมั่นคงในการทํางาน และทําให้มีแรงงานที่มีศักยภาพในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของประเทศ  นอกเหนือไปจากการแก้ไขปัญหาความยากจน  ดังนั้น  การกําหนดยุทธศาสตร์การทํางานในปี 2551  นอกจากจะครอบคลุมภารกิจของกระทรวงที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการวิ เคราะห์สถานการณ์ด้านต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วด้วย
             6. นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้มีบทบัญญัติหลายมาตราที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านแรงงาน ที่กระทรวงแรงงานจะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้แก่
                 มาตรา 38 การเกณฑ์แรงงานจะกระทํามิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องกันภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉินหรือโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งให้กระทําได้ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
                 มาตรา 44 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทํางาน รวมทั้งมีหลักประกันในการดํารงชีพทั้งในระหว่างการทํางานและเมื่อพ้นภาวการณ์ทํางาน
                 มาตรา 52 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
                 มาตรา 53 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอํานวยความ สะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
                 มาตรา 54 บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
                 มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน
                 มาตรา 63 บุคคลย่อมมี เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น
                 มาตรา 84 รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ  ดังต่อไปนี้
                           (2) สนับสนุนให้มีการใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ควบคู่กับการประกอบกิจการ
                           (5) จัดให้มีการออมเพื่อการดํารงชีพในยามชราแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
                           (7) ดําเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ขยายโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน และส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ และการประกอบอาชีพ
                           (8) ส่งเสริมให้ประชากรวัยทํางานมีงานทําคุ้มครองแรงงานเด็กและสตรีจัดระบบแรงงานสัมพันธ์  และระบบไตรภาคีที่ผู้ทํางานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม  รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทํางานมีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
                           (12) คุ้มครองและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจรวมทั้งการสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพ

 

        1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน

            1. เพื่อให้มีแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านแรงงานประจําปีงบประมาณ 2551ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและแนวนโยบายของรัฐบาล
            2. เพื่อให้มีกรอบแนวทางการดําเนินงานที่ ชัดเจนและสามารถรองรับสถานการณ์ด้านแรงงานที่เกิดขึ้นรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            3. เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานมีกรอบแนวทางการทํางานที่ชัดเจนและสามารถบูรณาการทํางานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

 

        2. เป้าหมาย

            สําหรับเป้าหมายหลักในการดําเนินงานตามแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2551 ยังคงยึดหลัก "คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา" เช่นเดียวกับแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2550 โดย "คน" ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการดูแลช่วยเหลือและพัฒนา ได้แก่
            1. ผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน จะได้รับการพัฒนา เพิ่มทักษะ เพื่อให้มีศักยภาพ ส่งเสริมให้มีงานทําที่เหมาะสม และมีรายได้เพียงพอในการดํารงชีพ
            2. ผู้ที่ทํางานอยู่ในสถานประกอบการ จะได้รับการดูแลคุ้มครอง ทั้งในด้านสภาพการทํางาน สภาพการจ้าง ความมั่นคงในการทํางานและสวัสดิการทํางาน
            3. ผู้ที่อยู่ในระบบกองทุนประกันสังคม จะได้รับการดูแลคุ้มครองตามสิทธิต่างๆ และขยายการดูแลให้ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้น
            4. ผู้ที่อยู่กลุ่มแรงงานนอกระบบ จะได้รับการจัดระบบและการดูแลสิทธิต่างๆ เทียบเท่ากับผู้ที่อยู่ในระบบ
            5. แรงงานไทยที่เดินทางไปทํางานในต?างประเทศ จะได?รับการคุ?มครองดูแลรั กษาสิทธิประโยชน?ตามกฎหมาย
            6. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทํางานในประเทศไทย จะได้รับการจัดระบบและคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ให้เท่าเทียมกับแรงงานในประเทศ ไม่แย่งงานคนไทยทํา ไม่ก่อปัญหาด้านสังคมและความมั่นคงของประเทศ และทําประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย
            7. แรงงานผู้สูงอายุจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะให้สามารถประกอบอาชีพได้เหมาะสมกับวัยและมีรายได้รวมทั้งการขยายโอกาสในการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมขั้นพื้นฐานสําหรับผู้สูงอายุ
            8. แรงงานผู้พิการ จะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือ การทํางาน และจัดหางานให้ทํา เพื่อจะได้มีงานทําและมีรายได้ในการดํารงชีพ รวมทั้งการคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
            9. ผู้ที่เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานและในองค์กรเครือข่ายการทำงานด้านแรงงานทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการทํางาน มีสมรรถนะในการทํางานสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสของการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะต้องได้รับการพัฒนาทั้งความรู้และคุณธรรม เพื่อสามารถนําหลักการทํางาน 4 ป (โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด ประสิทธิภาพ) ไปขยายผลเป็นรูปธรรม

 

        3. แนวทางการพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2551

             การพัฒนาแรงงานในปี2551 กระทรวงแรงงานยังคงยึดแนวทางการดําเนินงานตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)  นโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 และนโยบายการทํางานของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด และประสิทธิภาพ รวมทั้งได้นําผลการศึกษาและการประเมินสถานการณ์ด้านแรงงานของมูลนิธิสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศในการจัดทําแผนแม่บทด้านแรงงาน (พ.ศ. 2550 – 2554) ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าวได้ประมวลข้อคิดเห็นที่ได้ระดมสอบถามจากบุคคลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณผู้บริหารกระทรวงแรงงานด้วย  
             ดังนั้น แผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2551 จะมีกรอบแนวทางการทํางาน  ได้แก่  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ยุทธศาสตร์  เป้าประสงค์  เป็นไปในแนวทางเดียวกับแผนแม่บทด้านแรงงาน ได้แก่

วิสัยทัศน์
             "แรงงานมีผลิตภาพสูง มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี"
              นิยาม :
                        1) "ผลิตภาพสูง"  หมายถึง  แรงงานมีความรู้ความสามารถและทักษะฝีมือในการทํางานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในระดับมาตรฐานสากล เป็นเครื่องมือสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                        2) "ความมั่นคง"  หมายถึง  แรงงานมีหลักประกันที่ทําให้มั่นใจได้ว่าจะมีโอกาสในการทํางานเมื่อต้องการ และได้รับค้าตอบแทนตลอดจนผลประโยชน์ต่างๆ ที่เป็นธรรม
                        3) "คุณภาพชีวิตที่ดี"  หมายถึง  แรงงาน (ทั้งในและนอกระบบ) ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ มีความมั่นคงในการทํางานและการดํารงชีพ ทําให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
 

พันธกิจ
                       1) พัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรอบรู้
                       2) จัดเตรียมกําลังคนให้มีความพร้อมและพอเพียงต่อความต้องการทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วน
                       3) เสริมสร้างให้แรงงานมีความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดี
                       4) พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรด้านแรงงานให้มีประสิทธิภาพ
 

ยุทธศาสตร์  ประกอบด้วย  ยุทธศาสตร์การดําเนินงาน 7 ยุทธศาสตร์  คือ
                       1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกําลังคนเพียงพอทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ จะดําเนินการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การบรรเทาปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดแรงงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่จบการศึกษาใหม่จากสถานศึกษาในระดับต่างๆ ให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยการปรับทักษะ พั ฒนาฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการแต่ละประเภท การทําข้อมูลตลาดแรงงานซึ่งมีเครือข่ายข้อมูสารสนเทศทั้งอุปสงค์และอุปทานของแต่ละจังหวัด การแนะแนวอาชีพ เพื่อให้การเข้าสู่ตลาดแรงงานตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน การฝึกอบรม พัฒนาและการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานเข้าสู่ระดับสากล และเป็นการเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
                       2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงในการมีงานทําให้กับแรงงาน  จะดําเนินการปรับปรุง พัฒนา กระบวนการส่งเสริมการมีงานทําให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับภาวะตลาดแรงงาน โดยการส่งเสริมดําเนินการจัดทําระบบแนะแนวอาชีพที่ตอบสนองทุกกลุ่เป้าหมาย ส่งเสริมให้มีงานทํ าที่ ยั่งยืนตลอดชีวิต พัฒนาและส่งเสริมความก้หน้าในอาชีพพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานให้ครอบคลุมทั่วถึง โดยเฉพาะข้อมูลสถานการณ์ตลาดแรงงาน (Labor Market Information : LMI) และการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบสารสนเทศระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาความสามารถของบุคลากรทั้งในด้านการวิเคราะห์และการให้บริการ รวมถึงการปรับปรุงองค์การให้เหมาะสมต่อภารกิจและการทํางาน
                      3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงในการทํางานและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับแรงงาน  จะเป็นการเตรียมความพร้อมแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์  โดยพัฒนาและส่งเสริมสวัสดิการ การให้ความคุ้มครอง และระบบแรงงานสัมพันธ์ สร้างหลักประกันทางสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน พัฒนาระบบคุ้มครองและความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พัฒนาระบบการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการประกันสังคมและการคุ้มครองแรงงาน ขยายขอบเขตประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบพัฒนาแรงงานไทยเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการประกันสังคมและการคุ้มครองแรงงาน และพัฒนาระบบการติดตาม (บังคับใช้) การปฏิบัติตามกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกันสังคมและคุ้มครองแรงงานในระบบและนอกระบบพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับภารกิจ 
                     4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว  จะปรับปรุงและพัฒนาระบบการนําแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองให้ถูกต้องตามกฎหมายและให้ได้รับการคุ้มมครองสิทธิไม่แตกต่างจากแรงงานไทย โดยเพิ่มประสิทธิภาพการนําเข้แรงงานต่างด้าวตาม MOU คุ้มครองสิทธิและหลักประกันตามกฎหมายเพื่อป้กันปัญหาการค้ามนุษย์ การลดผลกระทบด้านสังคมและสาธารณสุขจากการจ้างแรงงานต้างด้าว พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้ามาทํางานในอาชีพที่ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวทำ  เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าว การพิจารณาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับภารกิจ
                    5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านแรงงาน  จะดําเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลด้านแรงงาน  เช่น ข้อมูลกําลังคน ข้อมูลแรงงานทั้งในและนอกระบบ ข้อมูลตลาดแรงงาน ข้อมูลการฝึกอาชีพ ข้อมูลสถานประกอบการ ฯลฯ และเชื่อมโยงเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาการประสานความร่วมมือการได้มาและการใช้ข้อมูลกันทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวง ปรับปรุงการให้บริการประชาชนด้วยระบบบริการอิเล็คทรอนิกส์ พัฒนาศักยภาพของบุคคลากรด้านเทคโนโลยี และปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับภารกิจ
                    6) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการของกระทรวงแรงงานให้มีความเป็นเลิศ  จะดําเนินการและสนับสนุนการมีแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และภารกิจอื่นที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล พัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านแรงงาน เสริมสร้างกลไกในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากําลังคนส่งเสริม พัฒนาและดําเนินการวิจัยด้านแรงงานที่สนับสนุนการบริหารแรงงานของกระทรวง พัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล สนับสนุนให้มีระบบกํ าหนดค่าตอบแทนบุคลากรที่ จูงใจและเป็นธรรม ปรับปรุงระบบเทคโนโลยี สารสนเทศให้ทันสมัย และมีเครือข่ายเชื่อมโยง สนับสนุนบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาความสามารถที่สอดคล้องกับภารกิจ และปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
                    7) ยุทธศาสตร์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและความเดือดร้อนเนื่องจากภาวะวิกฤติและสาธารณภัย  จะดําเนินการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อติดตามสถานการณ์ด้านสาธารณภัยและภาวะวิกฤติ จัดทําระบบฐานข้อมูลเตือนภัยด้านแรงงาน ดําเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนตามมาตรการหรือแนวทางการช่วยเหลือที่กําหนดไว้ โดยให้มีการบูรณาการให้ความช่วยเหลือร่วมกันทุกหน่วยงาน
 

เป้าประสงค์
                   1) เพื่อปรับอุปสงค์และอุปทานในตลาดแรงงานให้สอดคล้องกัน ให้แรงงานและผู้ประกอบการ  มีความรู้ความสามารถ (Competency) ที่ได้มาตรฐานระดับสากล
                   2) เพื่อขยายโอกาสการมีงานทํา เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพให้กับทุกกลุ่มเป้าหมายให้มีความมั่นคงด้านรายได้
                   3) แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองสิทธิ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมี หลักประกันความมั่นคงในการทํางานและการดํารงชีพ
                  4) เพื่อให้มีแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการแรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองสิทธิและไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อแรงงานและประชาชนไทย
                  5) แรงงานทั้ งในและนอกระบบสามารถเข้าถึงแหล่งฐานข้อมูลด้านแรงงานที่ทันสมัยมีโครงข่ายเชื่อมโยงที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วประเทศ
                  6) กระทรวงแรงงานมีระบบการบริหารจัดการด้านแรงงานที่มีประสิทธิภาพเป็นที่นิยมและยอมรับของสังคม
                  7) ผู้ประสบภัยพิบัติเนื่องจากอุบัติภัย/สาธารณภัย และผู้ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากภาวะวิกฤติได้รับการแก้ไขปัญหาด้วยการมีงานทําและรายได้อย่างรวดเร็ว

 

 

     การนํายุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ

        1. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกำลังคนเพียงพอทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
        2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงในการมีงานทำให้กับแรงงาน
        3. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับแรงงาน
        4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว
        5. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านแรงงาน
        6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการของกระทรวงแรงงานให้มีความเป็นเลิศ
        7. ยุทธศาสตร์การช่วยเหลือผู้ประสบภัย  ความเดือดร้อนเนื่องจากภาวะวิกฤติและสาธารณภัย

 

แผนพัฒนาแรงงาน

 

 

       หลักการและเหตุผล

              1. จากการที่ได้มีการจัดทําแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2550 และกําหนดให้มียุทธศาสตร์การดําเนินงาน 5 ยุทธศาสตร์ และ 1โครงการสําคัญ  ทําให้สามารถมองเห็นทิศทางการทํางานของกระทรวงแรงงานในปีงบประมาณ 2550  เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ  ในขณะนั้นที่มุ่งเน้นการสร้างความสมานฉันท์และการส่งเสริมค้านิยมคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมให้สูงขึ้นและผลการดําเนินงานตามแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2550 ก็บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้  ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2551   กระทรวงแรงงานจึงได้จัดทําแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2551 ขึ้น  เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดําเนินงานเหมือนเช่นปีที่ผ่านมา  โดยแผนพัฒนาแรงงานฯ ดังกล่าวจะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงาน สถานการณ์เศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานและสถานการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยต่อการกําหนดยุทธศาสตร์การดําเนินงานด้านแรงงานในปี 2551
             2. จากรายงานการศึกษาผลกระทบจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีต่อแรงงานของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ที่นําเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการปรับตัวของธุรกิจรายสาขา ครั้งที่ 1/2550  เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 ระบุว่าปัจจุบันสถานการณ์ด้านการจ้างงานยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ  โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำแต่แรงงานยังมีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีการยกระดับเทคโนโลยีตามห่วงโซ่มูลค่าอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งสะท้อนความต้องการแรงงานไม่เพียงแค่ปริมาณ แต่เป็นเรื่องคุณภาพที่มีความสําคัญทั้งองค์ความรู้ ทักษะและทัศนคติที่สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างการผลิต ในด้านของความต้องการแรงงาน จากการสํารวจของสํานักงานสถิติแห่งชาติในปี 2549 พบว่า สาขาการผลิตที่มีความต้องการสูงสุด  คือ  สาขาการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  รองลงมา  คือ  สาขาการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม   สําหรับภาวการณ์ขาดแคลน (หมายถึง ไม่สามารถหาแรงงานได้ตรงตามความต้องการตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป)  พบว่า  สาขาการผลิตที่มีปัญหามากที่สุด  คือ  สาขาการผลิตอาหารและอาหารสัตว์และสาขาการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม  ในส่วนของความต้องการแรงงานกับระดับการศึกษา พบว่า แรงงานระดับมัธยมหรือต่ำกว่า  มีความต้องการสูงสุด (ร้อยละ 67.3)  รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า (ร้อยละ 17.4) ที่เหลือเป็นความต้องการแรงงานระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา (ร้อยละ 9.5) และระดับ ปวช. (ร้อยละ 5.81)  สําหรับการขาดแคลนแรงงาน  พบว่า  มีการขาดแคลนแรงงานระดับมัธยมหรือต่ำกว่า  สูงที่สุด (ร้อยละ 82.2)  รองลงมาเป็นแรงงานระดับ ปวช. (ร้อยละ 4.2)  ที่เหลือเป็นแรงงานระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา (ร้อยละ 2)  และปริญญาตรีหรือสูงกว่า (ร้อยละ 1.8) 
             3. จากการที่กระทรวงแรงงานได้ว่าจ้างมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดําเนินการจัดทําแผนแม่บทด้านแรงงาน พ.ศ. 2550-2554 ซึ่งได้วิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ตลาดแรงงานใน 5 ปีข้างหน้า มีสาระสําคัญสรุปได้ว่าในช่วงปี 2550-2554 ภาคเศรษฐกิจของประเทศยังสามารถดูดซับแรงงานเพิ่มขึ้นได้ทุกปีๆ ละ 37.0 ล้านคน การจ้างงานรายสาขายังมีแนวโน้มคล้ายกับในอดีต คือ การจ้างงานในสาขาเกษตรลดลงโดยลำดับ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเริ่มประสบปัญหาจํานวนการจ้างงานลดลง ซึ่งการลดลงของการจ้างงานกระจายไปเกือบทุกสาขาการผลิตภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมแต่สาขาที่มีการจ้างงาน เพิ่มขึ้นเด่นชัด คือ ภาคบริการโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม และภัตตาคาร และโลจิสติกส์การที่จะรักษาระดับการจ้างงานเอาไว้ในระดับนี้ได้ ขึ้นกับผลของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศว่ายังสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ สําหรับการคาดการณ์อุปทานของผู้จบการศึกษาช่วงปี 2550-2554  โดยใช้โมเดลของสถาบันวิจัยฯ พบว่าแนวโน้มในอนาคตจะมีผู้จบการศึกษาระดับมัธยมเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลง เช่นเดียวกับสายอาชีพระดับ ปวช. และ ปวส. ส่วนแนวโน้มในอนาคตที่เพิ่มขึ้น คือ ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าในทุกสาขาจากการพิจารณาข้อมูลโครงสร้างการจ้างงานและผู้จบการศึกษาในอนาคตจะมีลักษณะสวนทางกัน กล่าวคือ ความต้องการของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ต่อแรงงานในระดับประถมและมัธยมศึกษามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีแต่อุปทานของแรงงานในระดับล่างกลับมี แนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลถึงการขาดแคลนแรงงานระดับล่างอย่างแน่นอน ถ้าภาคเศรษฐกิจไม่มีการปรับโครงสร้างที่จะใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงานระดับนี้มากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนไปจ้างแรงงานในระดับอุดมศึกษา

             4. สําหรับสถานการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานที่สําคัญ ได้แก่ สถานการณ์การเลิกจ้าง/ปิดกิจการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อันเนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองความเชื่อมั่นของนักลงทุน การแข็งค่าของเงินบาท ความผันผวนของราคาน้ำมัน ภาวะฟองสบู่แตกของวงการอสังหาริ มทรัพย์ในต่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศคู่ค้าหลักของไทย และต้นทุนการประกอบการไม่สอดคล้องกับปริมาณการสั่งซื้อกับราคาขาย และการแข่งขันในตลาดสินค้าบริการในและนอกประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น กอรปกับสถานการณภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่น อุทกภั ภัยแล้ง เป็นต้น และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้ผู้ประกอบการที่ไม่เข้มแข็งและไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ มีแนวโน้มจะไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ หลายแห่งอาจต้องลดกําลังการผลิต ต้องปิจการ หรือย้ายฐานการผลิต ซึ่งมีผลให้เกิดการเลิกจ้างลูกจ้าง ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับความเดือดร้อนว่างงาน จึงเป็นภาระที่กระทรวงแรงงานจะต้องเข้าไปดูแลช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิประโยชน์ค่าชดเชยตามกฎหมายจัดหางานใหม่ให้ทำ รวมทั้งการฝึกทักษะพัฒนาฝีมือหรือแนะแนวอาชีพ เพื่อให้สามารถทำงานอาชีพใหม่ได้
             5. เนื่องจากกระทรวงแรงงาน มีภารกิ จสําคัญที่ จะต้องดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานในระบบ ประมาณ 10 ล้านคน และกําลังขยายความคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ อีกประมาณ 23 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการส่งเสริมให้ประชาชนอีกไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน ให้มีงานทํา หรือมีความรู้ทักษะความสามารถ มีโอกาสได้งานทํา มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง โดยการฝึกอาชีพพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดหางานและแนะแนวอาชีพให้แก่ผู้ว่าง นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ต้องการเปลี่ยนงาน ประมาณ 1 ล้านคน ดูแลแรงงานไทยที่ไปทํางานในต่างประเทศ รวม 11 ประเทศ อีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน และแรงงานสูงอายุ แรงงานพิการอีกจํานวนหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสุดท้าย เพื่อให้มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุด  แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีความมั่นคงในการทํางาน และทําให้มีแรงงานที่มีศักยภาพในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของประเทศ  นอกเหนือไปจากการแก้ไขปัญหาความยากจน  ดังนั้น  การกําหนดยุทธศาสตร์การทํางานในปี 2551  นอกจากจะครอบคลุมภารกิจของกระทรวงที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการวิ เคราะห์สถานการณ์ด้านต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วด้วย
             6. นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้มีบทบัญญัติหลายมาตราที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านแรงงาน ที่กระทรวงแรงงานจะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้แก่
                 มาตรา 38 การเกณฑ์แรงงานจะกระทํามิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องกันภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉินหรือโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งให้กระทําได้ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
                 มาตรา 44 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทํางาน รวมทั้งมีหลักประกันในการดํารงชีพทั้งในระหว่างการทํางานและเมื่อพ้นภาวการณ์ทํางาน
                 มาตรา 52 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
                 มาตรา 53 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอํานวยความ สะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
                 มาตรา 54 บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
                 มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน
                 มาตรา 63 บุคคลย่อมมี เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น
                 มาตรา 84 รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ  ดังต่อไปนี้
                           (2) สนับสนุนให้มีการใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ควบคู่กับการประกอบกิจการ
                           (5) จัดให้มีการออมเพื่อการดํารงชีพในยามชราแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
                           (7) ดําเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ขยายโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน และส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ และการประกอบอาชีพ
                           (8) ส่งเสริมให้ประชากรวัยทํางานมีงานทําคุ้มครองแรงงานเด็กและสตรีจัดระบบแรงงานสัมพันธ์  และระบบไตรภาคีที่ผู้ทํางานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม  รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทํางานมีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
                           (12) คุ้มครองและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจรวมทั้งการสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพ

 

        1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน

            1. เพื่อให้มีแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านแรงงานประจําปีงบประมาณ 2551ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและแนวนโยบายของรัฐบาล
            2. เพื่อให้มีกรอบแนวทางการดําเนินงานที่ ชัดเจนและสามารถรองรับสถานการณ์ด้านแรงงานที่เกิดขึ้นรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            3. เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานมีกรอบแนวทางการทํางานที่ชัดเจนและสามารถบูรณาการทํางานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

 

        2. เป้าหมาย

            สําหรับเป้าหมายหลักในการดําเนินงานตามแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2551 ยังคงยึดหลัก "คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา" เช่นเดียวกับแผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2550 โดย "คน" ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการดูแลช่วยเหลือและพัฒนา ได้แก่
            1. ผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน จะได้รับการพัฒนา เพิ่มทักษะ เพื่อให้มีศักยภาพ ส่งเสริมให้มีงานทําที่เหมาะสม และมีรายได้เพียงพอในการดํารงชีพ
            2. ผู้ที่ทํางานอยู่ในสถานประกอบการ จะได้รับการดูแลคุ้มครอง ทั้งในด้านสภาพการทํางาน สภาพการจ้าง ความมั่นคงในการทํางานและสวัสดิการทํางาน
            3. ผู้ที่อยู่ในระบบกองทุนประกันสังคม จะได้รับการดูแลคุ้มครองตามสิทธิต่างๆ และขยายการดูแลให้ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้น
            4. ผู้ที่อยู่กลุ่มแรงงานนอกระบบ จะได้รับการจัดระบบและการดูแลสิทธิต่างๆ เทียบเท่ากับผู้ที่อยู่ในระบบ
            5. แรงงานไทยที่เดินทางไปทํางานในต?างประเทศ จะได?รับการคุ?มครองดูแลรั กษาสิทธิประโยชน?ตามกฎหมาย
            6. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทํางานในประเทศไทย จะได้รับการจัดระบบและคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ให้เท่าเทียมกับแรงงานในประเทศ ไม่แย่งงานคนไทยทํา ไม่ก่อปัญหาด้านสังคมและความมั่นคงของประเทศ และทําประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย
            7. แรงงานผู้สูงอายุจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะให้สามารถประกอบอาชีพได้เหมาะสมกับวัยและมีรายได้รวมทั้งการขยายโอกาสในการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมขั้นพื้นฐานสําหรับผู้สูงอายุ
            8. แรงงานผู้พิการ จะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือ การทํางาน และจัดหางานให้ทํา เพื่อจะได้มีงานทําและมีรายได้ในการดํารงชีพ รวมทั้งการคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
            9. ผู้ที่เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานและในองค์กรเครือข่ายการทำงานด้านแรงงานทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการทํางาน มีสมรรถนะในการทํางานสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสของการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะต้องได้รับการพัฒนาทั้งความรู้และคุณธรรม เพื่อสามารถนําหลักการทํางาน 4 ป (โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด ประสิทธิภาพ) ไปขยายผลเป็นรูปธรรม

 

        3. แนวทางการพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2551

             การพัฒนาแรงงานในปี2551 กระทรวงแรงงานยังคงยึดแนวทางการดําเนินงานตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)  นโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 และนโยบายการทํางานของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด และประสิทธิภาพ รวมทั้งได้นําผลการศึกษาและการประเมินสถานการณ์ด้านแรงงานของมูลนิธิสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศในการจัดทําแผนแม่บทด้านแรงงาน (พ.ศ. 2550 – 2554) ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าวได้ประมวลข้อคิดเห็นที่ได้ระดมสอบถามจากบุคคลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณผู้บริหารกระทรวงแรงงานด้วย  
             ดังนั้น แผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ. 2551 จะมีกรอบแนวทางการทํางาน  ได้แก่  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ยุทธศาสตร์  เป้าประสงค์  เป็นไปในแนวทางเดียวกับแผนแม่บทด้านแรงงาน ได้แก่

วิสัยทัศน์
             "แรงงานมีผลิตภาพสูง มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี"
              นิยาม :
                        1) "ผลิตภาพสูง"  หมายถึง  แรงงานมีความรู้ความสามารถและทักษะฝีมือในการทํางานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในระดับมาตรฐานสากล เป็นเครื่องมือสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                        2) "ความมั่นคง"  หมายถึง  แรงงานมีหลักประกันที่ทําให้มั่นใจได้ว่าจะมีโอกาสในการทํางานเมื่อต้องการ และได้รับค้าตอบแทนตลอดจนผลประโยชน์ต่างๆ ที่เป็นธรรม
                        3) "คุณภาพชีวิตที่ดี"  หมายถึง  แรงงาน (ทั้งในและนอกระบบ) ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ มีความมั่นคงในการทํางานและการดํารงชีพ ทําให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
 

พันธกิจ
                       1) พัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรอบรู้
                       2) จัดเตรียมกําลังคนให้มีความพร้อมและพอเพียงต่อความต้องการทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วน
                       3) เสริมสร้างให้แรงงานมีความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดี
                       4) พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรด้านแรงงานให้มีประสิทธิภาพ
 

ยุทธศาสตร์  ประกอบด้วย  ยุทธศาสตร์การดําเนินงาน 7 ยุทธศาสตร์  คือ
                       1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกําลังคนเพียงพอทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ จะดําเนินการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การบรรเทาปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดแรงงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่จบการศึกษาใหม่จากสถานศึกษาในระดับต่างๆ ให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยการปรับทักษะ พั ฒนาฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการแต่ละประเภท การทําข้อมูลตลาดแรงงานซึ่งมีเครือข่ายข้อมูสารสนเทศทั้งอุปสงค์และอุปทานของแต่ละจังหวัด การแนะแนวอาชีพ เพื่อให้การเข้าสู่ตลาดแรงงานตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน การฝึกอบรม พัฒนาและการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานเข้าสู่ระดับสากล และเป็นการเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
                       2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงในการมีงานทําให้กับแรงงาน  จะดําเนินการปรับปรุง พัฒนา กระบวนการส่งเสริมการมีงานทําให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับภาวะตลาดแรงงาน โดยการส่งเสริมดําเนินการจัดทําระบบแนะแนวอาชีพที่ตอบสนองทุกกลุ่เป้าหมาย ส่งเสริมให้มีงานทํ าที่ ยั่งยืนตลอดชีวิต พัฒนาและส่งเสริมความก้หน้าในอาชีพพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานให้ครอบคลุมทั่วถึง โดยเฉพาะข้อมูลสถานการณ์ตลาดแรงงาน (Labor Market Information : LMI) และการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบสารสนเทศระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาความสามารถของบุคลากรทั้งในด้านการวิเคราะห์และการให้บริการ รวมถึงการปรับปรุงองค์การให้เหมาะสมต่อภารกิจและการทํางาน
                      3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงในการทํางานและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับแรงงาน  จะเป็นการเตรียมความพร้อมแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์  โดยพัฒนาและส่งเสริมสวัสดิการ การให้ความคุ้มครอง และระบบแรงงานสัมพันธ์ สร้างหลักประกันทางสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน พัฒนาระบบคุ้มครองและความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พัฒนาระบบการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการประกันสังคมและการคุ้มครองแรงงาน ขยายขอบเขตประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบพัฒนาแรงงานไทยเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการประกันสังคมและการคุ้มครองแรงงาน และพัฒนาระบบการติดตาม (บังคับใช้) การปฏิบัติตามกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกันสังคมและคุ้มครองแรงงานในระบบและนอกระบบพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับภารกิจ 
                     4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว  จะปรับปรุงและพัฒนาระบบการนําแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองให้ถูกต้องตามกฎหมายและให้ได้รับการคุ้มมครองสิทธิไม่แตกต่างจากแรงงานไทย โดยเพิ่มประสิทธิภาพการนําเข้แรงงานต่างด้าวตาม MOU คุ้มครองสิทธิและหลักประกันตามกฎหมายเพื่อป้กันปัญหาการค้ามนุษย์ การลดผลกระทบด้านสังคมและสาธารณสุขจากการจ้างแรงงานต้างด้าว พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้ามาทํางานในอาชีพที่ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวทำ  เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าว การพิจารณาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับภารกิจ
                    5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านแรงงาน  จะดําเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลด้านแรงงาน  เช่น ข้อมูลกําลังคน ข้อมูลแรงงานทั้งในและนอกระบบ ข้อมูลตลาดแรงงาน ข้อมูลการฝึกอาชีพ ข้อมูลสถานประกอบการ ฯลฯ และเชื่อมโยงเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาการประสานความร่วมมือการได้มาและการใช้ข้อมูลกันทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวง ปรับปรุงการให้บริการประชาชนด้วยระบบบริการอิเล็คทรอนิกส์ พัฒนาศักยภาพของบุคคลากรด้านเทคโนโลยี และปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับภารกิจ
                    6) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการของกระทรวงแรงงานให้มีความเป็นเลิศ  จะดําเนินการและสนับสนุนการมีแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และภารกิจอื่นที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล พัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านแรงงาน เสริมสร้างกลไกในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากําลังคนส่งเสริม พัฒนาและดําเนินการวิจัยด้านแรงงานที่สนับสนุนการบริหารแรงงานของกระทรวง พัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล สนับสนุนให้มีระบบกํ าหนดค่าตอบแทนบุคลากรที่ จูงใจและเป็นธรรม ปรับปรุงระบบเทคโนโลยี สารสนเทศให้ทันสมัย และมีเครือข่ายเชื่อมโยง สนับสนุนบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาความสามารถที่สอดคล้องกับภารกิจ และปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
                    7) ยุทธศาสตร์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและความเดือดร้อนเนื่องจากภาวะวิกฤติและสาธารณภัย  จะดําเนินการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อติดตามสถานการณ์ด้านสาธารณภัยและภาวะวิกฤติ จัดทําระบบฐานข้อมูลเตือนภัยด้านแรงงาน ดําเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนตามมาตรการหรือแนวทางการช่วยเหลือที่กําหนดไว้ โดยให้มีการบูรณาการให้ความช่วยเหลือร่วมกันทุกหน่วยงาน
 

เป้าประสงค์
                   1) เพื่อปรับอุปสงค์และอุปทานในตลาดแรงงานให้สอดคล้องกัน ให้แรงงานและผู้ประกอบการ  มีความรู้ความสามารถ (Competency) ที่ได้มาตรฐานระดับสากล
                   2) เพื่อขยายโอกาสการมีงานทํา เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพให้กับทุกกลุ่มเป้าหมายให้มีความมั่นคงด้านรายได้
                   3) แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองสิทธิ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมี หลักประกันความมั่นคงในการทํางานและการดํารงชีพ
                  4) เพื่อให้มีแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการแรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองสิทธิและไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อแรงงานและประชาชนไทย
                  5) แรงงานทั้ งในและนอกระบบสามารถเข้าถึงแหล่งฐานข้อมูลด้านแรงงานที่ทันสมัยมีโครงข่ายเชื่อมโยงที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วประเทศ
                  6) กระทรวงแรงงานมีระบบการบริหารจัดการด้านแรงงานที่มีประสิทธิภาพเป็นที่นิยมและยอมรับของสังคม
                  7) ผู้ประสบภัยพิบัติเนื่องจากอุบัติภัย/สาธารณภัย และผู้ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากภาวะวิกฤติได้รับการแก้ไขปัญหาด้วยการมีงานทําและรายได้อย่างรวดเร็ว

 

 

     การนํายุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ

        1. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกำลังคนเพียงพอทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
        2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงในการมีงานทำให้กับแรงงาน
        3. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับแรงงาน
        4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว
        5. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านแรงงาน
        6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการของกระทรวงแรงงานให้มีความเป็นเลิศ
        7. ยุทธศาสตร์การช่วยเหลือผู้ประสบภัย  ความเดือดร้อนเนื่องจากภาวะวิกฤติและสาธารณภัย
 

      เอกสารดาวน์โหลด

แผนพัฒนาแรงงาน พ.ศ.2551

แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2548 - 2551 กระทรวงแรงงาน

 

6174
TOP