CLA แถลงว่า ในจำนวนคนงานต่างชาติทั้งหมด 489,134 คน ทำงานอยู่ในภาคการผลิตมากที่สุด 265,741 คน ตามมาด้วยภาคสวัสดิการสังคม ได้แก่ ผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้าน จำนวน 21,0215 คน อันดับ 3 เป็นภาคการเกษตร ซึ่งปัจจุบันเปิดให้นำเข้าได้เฉพาะตำแหน่งลูกเรือประมง มีจำนวน 9,788 คน ส่วนในภาคการก่อสร้างมีจำนวนแรงงานต่างชาติ 3,390 คน
นอกจากนี้ ในปี 2556 CLA ยังได้อนุญาตให้หน่วยงานการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร นำเข้าผู้อนุบาลเคลื่อนที่ ซึ่งในช่วงทดลองนี้มีหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตมีเพียงรายเดียว ได้แก่ มูลนิธิสวัสดิการผู้สูงวัยหงเต้า หรือ Hondao Senior Citizen Welfare foundation เป็นนายจ้างนำเข้าผู้อนุบาลอินโดนีเซียจำนวน 13 คน โดยประชาชนที่มีความต้องการและมีคุณสมบัติตรงตามกำหนดสามารถยื่นขอใช้บริการต่อองค์กรนี้ ให้จัดส่งผู้อนุบาลต่างชาติไปให้บริการที่บ้านเป็นรายชั่วโมง โดยผู้ใช้บริการจะเสียค่าจ้างเป็นรายครั้ง ครั้งละ 280 เหรียญ แต่หากจะใช้บริการเป็นรายเดือนก็ได้ เดือนละ 15,000เหรียญ ถูกกว่าว่าจ้างผู้อนุบาลแบบระบบดั้งเดิม ส่วนผู้อนุบาลต่างชาติจะได้รับค่าจ้างเต็มตามค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งมีสวัสดิการอื่นๆ เช่นประกันสุขภาพ ประกันภัยแรงงานฯลฯ นอกจากนี้ ที่สำคัญไม่ต้องไปนอนพักบ้านนายจ้างและทำงานเป็นเวลา ได้พักผ่อนเหมือนอย่างแรงงานต่างชาติในโรงงาน โดยนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตนำเข้า จะเป็นผู้จ่ายค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และรับผิดชอบดูแลบริหารความเป็นอยู่ของผู้อนุบาลต่างชาติ รวมทั้งต้องรับผิดชอบเบี้ยกองทุนเพื่อความมั่นคงในการทำงานที่นายจ้างต้องจ่ายให้รัฐทุกเดือนเดือนละ 2,000 เหรียญ และรับผิดชอบเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันภัยแรงงาน ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่สำหรับนายจ้างที่ต้องการว่าจ้างผู้อนุบาล แต่ไม่จำเป็นต้องจ้างเป็นปี เสียค่าใช้จ่ายไม่มาก ขณะที่ผู้อนุบาลต่างชาติจะมีค่าจ้าง สวัสดิการและเวลาพักผ่อนเหมือนกับคนงานในโรงงานทั่วไป
สถิติของ CLA พบว่า ณ สิ้นปี 2556 ที่ผ่านมาว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 489,134 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานอินโดนีเซียมากที่สุด 213,234 คน คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาเป็นแรงงานเวียดนาม 125,162 คน คิดเป็นร้อยละ 25.5 ลำดับ 3 คือคนงานฟิลิปปินส์ มีจำนวน 89,024 คน คิดเป็นร้อยละ 18 ส่วนคนงานไทยเป็นลำดับ 4 มีจำนวน 61,709 คน และคนงานจากจากมาเลเซียมีเพียง 4 คน
************************************
สนร. ไทเป