Skip to main content

ลาออกนายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายเงินเดือนไหม

หน้าหลัก Forums สวัสดิการแรงงาน ลาออกนายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายเงินเดือนไหม

Tagged: 

  • This topic has 133 ข้อความตอบกลับ, 2 เสียง, and was last updated 1 year, 10 months ago by  Henryhon.
กำลังดู 15 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 15 (ของทั้งหมด 134)
  • Author
    Posts
  • #222321
    WC 222321

    อยากสอบถามว่าในกรณีที่ลาออกนายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายเงินเดือนเราไหมคะ และถ้านายจ้างมีการจ่ายเงินเดือนล่าช้าสามารถทำยังไงได้บ้างคะ

    #222452
    labourqa
    Moderator
    222452

    หากลูกจ้างทำงานต้องได้รับค่าจ้าง เมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างแล้วและค่าจ้างถึงกำหนดจ่ายตามข้อตกลงนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาตามมาตรา 70 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายจ้างไม่มีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง เมื่อค่าจ้างถึงกำหนดแล้วนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนายจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัตฉบับเดียวกัน หากลูกจ้างยังไม่ได้รับค่าจ้างให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือผ่านทางลิ้งค์ https://s97.labour.go.th/pub_request/ContactForm.php

    #222460
    WC 222460

    สอบถามเพิ่มเติมค่ะ ในกรณีนี้ถ้าแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

    กรณีที่ 1 ถ้านายจ้างจ่ายเงินเดือนล่าช้าเกิน 7 วัน อันนี้ถือว่าไม่ผิดใช่ไหมคะ

    กรณีที่ 2 ถ้าลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้า ทำให้มีงานปัจจุบันค้างอยู่ นายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จายเงินเดือนไหมคะ

    #224056
    labourqa
    Moderator
    224056

    ตอบคำถามคุณ WC
    กรณีที่ 1 ค่าจ้างต้องจ่ายตามกำหนดที่ตกลงกัน ตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
    หากเป็นการเลิกจ้างให้จ่ายภายใน 3 วันนับแต่วันเลิกจ้าง และเมื่อถึงกำหนดแล้วนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนายจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
    กรณีที่ 2 การลาออกโดยไม่แจ้งบอกเลิกสัญญาล่วงหน้าตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
    พ.ศ. 2541 อาจเป็นเหตุให้นายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ แต่นายจ้างก็ยังมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายค่ะ เนื่องจากเป็นสัญญาต่างตอบแทน

    #241069
    วีรชัย 241069

    1.กรณีเป็นลูกล้างแต่ไม่ได้ทำสัญญาจ้าง แล้วนายจ้างจ่ายเงินเดือนไม่ครบตามตกลง และได้ค้างจ่ายเงินเดือนต่อเนื่องเป็นเวลา1ปีเต็ม เฉลี่ยเดือนละ1หมื่นบาทรวมเป็นเงิน120,000โดยประมาณ จนหงานใหม่
    หลังจากออก ได้พยายามติดตามหนี้มาหลายครั้ง ซึ่งนัดแล้วไม่จ่าย จนผมยอมลดจำนวนลง หรือให้ผ่อนจ่าย แต่นายจ้างก็ไม่สนใจ จนมาหลังๆ ไม่ยอมอ่านข้อความที่ส่งไปเลย
    กรณีเช่นนี้จะทำยังไงได้บ้างครับ

    2.กรณีเป็นลูกจ้างไม่ได้ทำสัญญาจ้าง ทำงานมาเป็นระยะเวลา10เดือน นายจ้างให้ออกจากงาน โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำผิดอะไร และตามคำอธิบายนายจ้างคือต้องการเปลี่ยนชุดทำงานใหม่ที่อ้างว่าเป็นมืออาชีพมากกว่า และหลังจากแจ้งในวันที่7สิงหาคม วันที่16สิงหาคมก็ให้ออกเลย โดยปกติการจ่ายเงินจ่ายทุก15วัน
    ซึ่งเงินเดือนผม 30,000บาท 15วัน 15,000บาท วันที่เงินเข้าครั้งสุดท้ายคือ 22,000บาท ไม่ทราบว่านายจ้างทำถูกต้องไหมคับ ผมมีสิทธิจะทำอะไรได้บ้างครับ

    #242682
    K 242682

    กรณีลูกจ้างออกโดยมิได้บอกกล่าว นายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างไหม

    #246370
    N 246370

    ขออนุญาติสอบถามค่ะ
    คือลาออกจากงานแล้วถึงวันที่จ่ายเงินเเล้วจ่ายมาแค่ครึ่งเดียวแล้วบอกจะจ่ายให้อีกครึ่งนึง แต่จะเป็นอาทิตย์แล้วค่ะ ยังไม่จ่ายเลย ควรทำยังไงดีค่ะ

    #246376
    labourqa
    Moderator
    246376

    ตอบคำถามคุณ N 246370

    กรณีพ้นกำหนดนัดการจ่าย และทวงถามแล้ว หากจะไม่รอตามนัดทวงถามครั้งล่าสุดอีกสักครั้ง สามารถไปยื่นคำร้องทุกข์ กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่ครบตามจำนวน ต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ต่อไปได้เลยค่ะ

    #246377
    labourqa
    Moderator
    246377

    ตอบคำถามคุณ N 246370

    กรณีพ้นกำหนดนัดการจ่าย และทวงถามแล้ว หากจะไม่รอตามนัดทวงถามครั้งล่าสุดอีกสักครั้ง สามารถไปยื่นคำร้องทุกข์ กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่ครบตามจำนวน ต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ต่อไปได้เลยค่ะ

    ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมให้ติดต่อสอบถามพนักงานตรวจแรงงาน โดยท่านสามารถติดต่อกรมได้หลายช่องทางครับ 1. สายด่วน 1546 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 2. สายด่วน 1506 กด 3 (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 3. ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์กรม (www.labour.go.th) เมนู ติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ (ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) 4. ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/

    #247777
    PP 247777

    ในกรณีที่เป็นพนักงานประจำ
    ตอนเซ็นสัญญาเริ่มงานบริษัทแจ้งว่า ถ้าจะออกต้องแจ้งล่วงหน้า 30วัน

    อยู่มาได้ประทฝมาณเกือบปี บริษัทมีการแจ้งอัพเดทว่า ขอเป็น 60วัน

    เราจำเป็นต้องทำตามไหมคะ

    แจ้งออกไปตั้งแต่วันที่ 16 กันยา
    จะขอ last day วันที่ 19 ตุลา ได้ไหมคะ

    #248578
    labourqa
    Moderator
    248578

    ตอบคำถามคุณ PP 247777
    การแจ้งลาออกของลูกจ้างนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าลูกจ้างต้องแจ้งลาออกล่วงหน้ากี่วัน ดังนั้น ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกัน ทั้งนี้ ลูกจ้างอาจแจ้งไม่ครบตามที่ตกลงไว้ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดความเสียหายแก่นายจ้างจากการที่ลูกจ้างไม่แจ้งตามที่ตกลงกัน นายจ้างสามารถฟ้องร้องในทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้

    ทั้งนี้ หากลูกจ้างมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือสงสัยสามารถปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่กองคุ้มครองแรงงาน โทร. 026602071 , 026602199 ในวัน เวลาราชการ หรือ ผ่านทาง “LINE Official กองคุ้มครองแรงงาน” ที่ https://lin.ee/RwDD97Z

    #248759
    TT 248759

    อยากจะสอบถามว่า คือลาออกจากที่ทำงาน แบบแจ้งล่วงหน้าตามที่เขาบอก แต่ตอนนี้สิ้นเดือนยังไม่ได้เงินเดือนเลย ผ่านมา 5 วันแล้วก็ยังไม่มีใบเซนมาให้เซนรับเงินเดือนต้องทำอย่าไรคะ(ตอนนี้ไม่ได้ทำงานที่นั่นแล้ว คือทำงานถึงวันที่ 30 กันยายน 2564)

    #249742
    adminwebboard
    Keymaster
    249742

    เรียน คุณ TT กรณีดังกล่าวท่านสามารถขอคำปรึกษาได้ที่ กองคุ้มครองแรงงาน โทร. 026602071 , 026602199
    ในวัน เวลาราชการ หรือ ผ่านทาง “LINE Official กองคุ้มครองแรงงาน” ที่ https://lin.ee/RwDD97Z

    #249801
    Mm3865 249801

    ทำงานมา10วัน อยุ่ในช่วงโปร ถ้าขอลาออกในจำนวน10วันที่ทำงานไป เขามีสิทธิ์ไม่ต่ายเงินเดือนเราไหมคะ

    #249802
    labourqa
    Moderator
    249802

    เรียน คุณ Mm3865 249801
    ตามมาตรา 70 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายจ้างไม่มีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างสอบถามมาลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามจำนวนวันที่ลูกจ้างทำงาน ทั้งนี้ หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถติดต่อสอบถามพนักงานตรวจแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ในวันและเวลาราชการ) ได้หลายช่องทาง ดังนี้ 1. สายด่วน 1546 2. สายด่วน 1506 กด 3 3. ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์กรม (www.labour.go.th) เมนู ติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ 4. ช่องทางการยื่นคำร้องออนไลน์ (24 ชม.) https://eservice.labour.go.th/

กำลังดู 15 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 15 (ของทั้งหมด 134)
  • You must be logged in to reply to this topic.
TOP