Skip to main content

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” รุกเปิดตลาด 100,000 อัตรา พาแรงงานโกอินเตอร์ จับมือ 144 เอเจนต์ ส่งทำงานสวัสดิการดี รายได้สูง/Labour Minister Proactively Opens International Markets to Support Employment of 100,000 Workers in Collaboration with 144 Agencies to Provide Work with Quality Benefits and High Income

รายละเอียดเนื้อหา

          วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ ประจำปี 2567 โดยมี นายอารี ไกรนรา  เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  พร้อมด้วยนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน  นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน  เรือเอก สาโรจน์ คมคาย ที่ปรึกษากฎหมาย  นางนภสร ทุ่งสุกใส  ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน  และนางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน   ร่วมเป็นเกียรติในงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวรายงาน สมาคมการจัดหางานไทยไปต่างประเทศ สมาคมนายจ้างส่งเสริมแรงงานไทย และผู้รับอนุญาตจัดหางาน เพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จำนวน 144 บริษัท ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน 
 
           โดยนายพิพัฒน์ฯ เปิดเผยว่า นโยบายสำคัญของกระทรวงแรงงาน ในปี 2567 ด้าน “มีงานทำ” ที่มอบไว้ให้กรมการจัดหางาน คือ การมุ่งสู่เป้าหมายจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ 100,000 อัตรา ภายในปี 2567 ล่าสุดมีความคืบหน้าจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศแล้ว จำนวน 29,399 คน และเพื่อเดินหน้าตามเป้าหมาย ทิศทางปีนี้จะมุ่งเน้นไปที่ “มาตรการรักษาตลาดแรงงานเดิม” ในประเทศที่มีการจัดส่งแรงงานไทยอยู่แล้ว โดยการสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มแรงจูงใจการจ้างแรงงานไทยของนายจ้าง เพื่อเพิ่มจำนวนความต้องการรับแรงงานไทย การกระชับความสัมพันธ์ทั้งภาครัฐ และภาคีเครือข่ายภาคเอกชนระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านการจัดส่งแรงงานร่วมกัน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานไทยในต่างประเทศให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ ซึ่งในเร็ววันนี้จะเดินทางไปสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศที่คนไทยต้องการไปทำงานมากที่สุด เพื่อเจรจาเพิ่มโควตาโครงการ EPS (วีซ่า E-9) ในสาขาอุตสาหกรรมภาคบริการ เจรจาปรับข้อจำกัดด้านอายุ เพิ่มโอกาสให้แรงงานสูงอายุและมีประสบการณ์ทำงานสูง เจรจาเพิ่มสัดส่วนการจ้างแรงงานเพศหญิง หารือขยายตลาดแรงงานทักษะฝีมือ (วีซ่า E-7)  กับผู้ประกอบกิจการอู่ต่อเรือ อาทิ บริษัทในเครือ Hyundai บริษัท Samsung และบริษัท Hanwha Ocean และหากมีความเป็นไปได้จะหารือเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าร่วมมือด้านการจัดส่งแรงงานภาคเกษตรตามฤดูกาล กับอำเภออื่นๆ ของสาธารณรัฐเกาหลีต่อไป และจะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเจรจาขยายตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรม บริการด้านอาหาร และบริการโรงแรม และหารือเพื่อเข้าร่วมกับองกรร์ผู้รับในประเทศญี่ปุ่น เปิดโอกาสให้แรงงานไทยไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น นอกจากนี้จะดำเนินการควบคู่กับ “มาตรการแสวงหาตลาดแรงงานใหม่” ในประเทศที่กำลังขาดแคลนแรงงาน หรือประเทศที่มีแนวโน้มการจ้างแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้น เน้นไปทางแถบทวีปยุโรป อาทิ ออสเตรเลีย อิตาลี โปรตุเกส เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ นอกจากความทุ่มเทของกรมการจัดหางานแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาคมการจัดหางานไทยไปต่างประเทศ สมาคมนายจ้างส่งเสริมแรงงานไทย และผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศทั้ง 144 แห่ง แสวงหาแนวทางร่วมกันในการส่งเสริม สนับสนุนแรงงานไทย  
 
           “ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผมขอขอบคุณผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศแทนแรงงานไทย ที่ทุกท่านจัดหางานอย่างมีจริยธรรม ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน และให้ความสำคัญกับประโยชน์สูงสุดของแรงงานไทย วันนี้เราทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมีคุณภาพ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างยั่งยืน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว
 
           ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การประชุมมอบนโยบายด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ ประจำปี 2567 ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเชิญสมาคมการจัดหางานไทยไปต่างประเทศ ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 144 บริษัท ผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศผ่านช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในภารกิจการจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ มาร่วมกันหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การจัดส่งแรงานไทยไปทำงานในต่างประเทศเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม ตามนโยบายจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ 100,000 อัตรา ภายในปี 2567 ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบไว้ โดยแรงงานไทยต้องได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ และการคุ้มครองที่เหมาะสม รวมทั้งวางแนวทางคงมาตรฐานคุณภาพแรงงานไทย พร้อมเพิ่มพูนทักษะด้านการทำงานให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับแรงงานชาติอื่นๆ

          On February 28, 2024, the Labour Minister, Mr. Phiphat Ratchakitprakarn, chaired the meeting to deliver policies on sending Thai workers to work abroad for 2024. The Secretariat to the Labour Minister, Mr. Aree Krainara, the Permanent Secretary of Labour, Mr. Phairoj Chotikasatian, the Deputy Permanent Secretary of Labour, Mr. Wannarat Srisuksai, the Legal Advisor, Lieutenant Saroj Komkhai, the Academic Labour Advisor, Mrs. Napasorn Toongsooksai, and the Assistant to the Permanent Secretary of Labour, Ms. Kornjirat Pongjansat joined the event. The Department of Employment’s Director-General, Mr. Somchai Morakotsriwan, gave a report. The Thai Overseas Manpower Association, the Thai Workers Promotion Employers Association, and companies with licenses for overseas employment, representing 144 companies, attended the meeting at the conference room on the 5th floor of the Ministry of Labour.
 
          Mr. Phiphat said that one of the Ministry of Labour’s important policies in 2024 is on “employment,” which is assigned to the Department of Employment. The aim is to send 100,000 Thai workers to work abroad in 2024. Recently, there has been progress in sending workers to work abroad, with the total now at 29,399 people. To move forward with the goal, this year’s direction will focus on “measures to preserve existing labor markets” in countries where Thai workers are already being sent. The efforts aim to build confidence and boost the motivation of employers to hire Thai workers, increase the demand for Thai workers, and strengthen relationships throughout the government and international private sector network partners. Efforts have led to the preparation of a Memorandum of Understanding regarding joint labour delivery to promote the quality of working life of Thai workers abroad to be of high quality. The Labour Minister will travel to South Korea soon, a country where Thai workers want to work the most. The visit will include discussions to increase the EPS project quota (E-9 visa) in the service industry sector, discussions to adjust age restrictions to increase opportunities for older and more experienced workers, and to increase the proportion of female worker employment. It will also discuss the expansion of the skilled labour market (E-7 visa) with shipyard operators, such as companies under Hyundai, Samsung, and Hanwha Ocean. If possible, discussions will be made to prepare a Memorandum of Understanding regarding the delivery of seasonal agricultural workers to other districts in South Korea. Next, he will travel to Japan to discuss the expansion of the industrial labour market in food service and hotel services and discuss joining recipient organizations in Japan to provide more opportunities for Thai workers to work in Japan. Efforts will be carried out in conjunction with “measures to find new labour markets” in countries with labour shortages or countries that have a tendency to hire more foreign workers. There is a focus on the European continent, with countries such as Australia, Italy, and Portugal. The initiative will be successful in its objectives with the dedication of the Department of Employment and cooperation from the Thai Overseas Manpower Association, the Thai Workers Promotion Employers Association, and all 144 companies with licenses for overseas employment, coming together to promote and support Thai workers.
 
          “As the Labour Minister, I would like to thank the people who have been granted licenses to recruit for overseas employment on behalf of Thai workers. I would like to thank the companies for their ethical practices under human rights principles and for giving importance to providing Thai workers with the highest benefits. Today, we all have a common goal in supporting Thai workers to work abroad with quality and to drive the Thai economy sustainably,” said the Labour Minister.
         
          The Department of Employment’s Director-General, Mr. Somchai Morakotsriwan, said that this meeting to deliver policies on sending Thai workers to work abroad for 2024 was organized to invite the Thai Overseas Manpower Association and the 144 companies with licenses for overseas employment, who play an important role in promoting Thai workers to work abroad through legal channels, and officials involved in the mission of sending workers to work abroad to come together to discuss and exchange opinions and suggestions that are beneficial to sending Thai workers to work abroad under the principles of human rights. It aims to successfully send 100,000 Thai workers to work abroad in 2024, a policy given by the Labour Minister. In doing so, Thai workers must receive appropriate wages, benefits, and protection. It also aims to create guidelines to maintain Thai labour quality standards and develop work skills to be accepted in many countries to enhance the ability to compete with workers from other nations.
 
————————————————————
 
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/Division of Public Relations
28 กุมภาพันธ์ 2567
 
TOP