Skip to main content

ก.แรงงาน ประชุมเพื่อชี้แจงมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure : SOP) การตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

รายละเอียดเนื้อหา

          วันที่ 16 มิถุนายน 2565 นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานการประชุมเพื่อชี้แจงมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure : SOP) การตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบ Zoom ณ ห้องประชุมแสงสิงแก้ว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมีนายวรรณรัตน์ ศรีสุกใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน สืบเนื่องจากการประชุมในวันนี้สืบเนื่องจากการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ประกอบด้วย (สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และสำนักงานแรงงานจังหวัด) หากพบเบาะแสแรงงานในพื้นที่ถูกแสวงหาประโยชน์โดยการถูกบังคับใช้แรงงาน ให้แจ้งเบาะแสข้อมูลมาที่ “สำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (สล.ศปคร.)” เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและอาจเข้าข่ายการบังคับใช้แรงงาน หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เนื่องด้วยที่ผ่านมาไม่มีการรายงานว่าพบแรงงานบังคับจากการตรวจแรงงาน นายจ้าง ในสถานประกอบการ เพราะส่วนใหญ่เป็นการตรวจสถานประกอบการที่ถูกต้อง และอยู่ในระบบตามกฎหมายของกระทรวงแรงงาน ทำให้ผลการจับกุมและดำเนินคดี ด้านแรงงานบังคับ ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในมาตรา 6/1 พบการกระทำความผิดน้อย ทำให้ กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา หรือ J-TIP มีข้อสังเกตในประเด็นนี้ว่า พนักงานตรวจแรงงานขาดความเข้มข้นในการตรวจแรงงาน และขาดการแสวงหาข้อบ่งชี้พฤติการณ์ที่อาจเข้าข่ายเป็นแรงงานบังคับ จึงทำให้ TIP Report ในปี 2564 มีข้อเสนอแนะให้กระทรวงแรงงานจัดทำแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานการตรวจคัดกรอง ด้านแรงงานบังคับ ตามมาตรา 6/1 เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับเจ้าหน้าที่สำหรับตรวจคัดกรองเบื้องต้น กับแรงงานในพื้นที่ ซึ่ง สล.ศปคร.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวง พม. กรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และองค์กรพัฒนาเอกชน IJM และ SR-LAWS ได้ร่วมกันจัดทำ (Standard Operating Procedure : SOP) คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน การตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งฝ่ายเลขาจะได้ชี้แจงให้หน่วยงานในสังกัดได้ทราบในวันนี้ เพื่อนำไปปฏิบัติ

————————————————

กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
17 มิถุนายน 2565

TOP