วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการดำเนินการและการติดตามแผนงานอาเซียนในการขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็กภายในปี 2568 และการติดตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองการใช้แรงงานเด็ก รวมถึงการขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก ณ โรงแรมสุโกศล ถนนศรีอยุธยา เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
นายสมาสภ์ กล่าวว่า ผมยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายจากท่านปลัดกระรวงแรงงานในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานประเทศไทยในกรอบอาเซียน (SLOM) ให้มาเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัตืการระดับภูมิภาคเพื่อติดตามแผนงานการขจัดการใช้แรงงานด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ในระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤศจิกายน 2567 ที่โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ ที่ประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นภาครัฐ และภาคประชาสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียน และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ รวม 80 คน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมฝนระบบออนไลน์อีก 30 คน ประเด็นการหารือเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามแผนงานในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2563 – 2568 ประกอบกับสิ่งที่คาดหวังการระบุความสำคัญในการเตรียมแผนงานในอนาคตภายหลังปี 2568 เป็นต้นไป ด้านการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดในระดับอาเซียน สิ่งสำคัญที่จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องและถือว่าเป็นพันธะกรณีที่อาเซียนจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและมุ่งมั่นต่อไปเพื่อให้ปราศจากการใช้แรงงานเด็กทุกรูปแบบ
นายสมาสภ์ กล่าวต่อว่า การประชุมครั้งนี้จัดโดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเลขาธิการอาเซียน โครงการ ALFA องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และรัฐบาลไทย จะเห็นได้ว่า แรงงานเด็กยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายที่เร่งด่วนที่สุดที่ภูมิภาคของเรากำลังเผชิญอยู่ การประชุมครั้งนี้ ซึ่ง ILO ได้คาดการณ์ว่ามีแรงงานเด็กประมาณ 62.1 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งหมายถึงยังมีแรงงานเด็ก 1 คนต่อจำนวนเด็ก 14 คน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนตระหนักดีว่า การแก้ไขปัญหานี้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างอนาคตทที่มั่งคั่ง ยุติธรรมและเท่าเทียมกันสำหรับเด็กทุกคนในชุมชนของเรา แต่ละประเทศได้มีความก้าวหน้าอย่างมากในการบรรลุเป้าหมาย แม้ว่าเส้นทางดังกล่าวยังคงอีกห่างไกล ความพยายามล่าสุดในการรับรองปฏิญญาอาเซียนฯ นี้ ถือเป็นการเน้นย้ำเป้าหมายร่วมกันของทุกประเทศที่จะเร่งสร้างความพยายามขึ้นอีก และยังเป็นการสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือข้ามพรมแดน และทำให้แน่ใจได้ว่า เด็กทุกคนจะห่างไกลจากการกระทำเอาเปรียบ รวมถึงจะได้รับการดูแลให้อยู่อย่างปลอดภัย และอบอุ่น รวมถึงการได้รับโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนา ดังนั้น การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จะมีการหารือแนวทางการดำเนินการและการติดตามแผนงานอาเซียนในการขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็กภายในปี 2568 และการติดตามปฏิญญาอาเซียนฯ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ เป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งทั้งปฏิญญาอาเซียนฯ และการทบทวนแผนการดำเนินงานเพื่อจะเสริมความแข็งแกร่งฉันทามติร่วมและการดำเนินการร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ