Skip to main content

รมว.แรงงาน kick off เจ้าหน้าที่ชุดตรวจสอบการทำงานคนต่างด้าวฯ บูรณาการเข้มชุดเฉพาะกิจต่อต้านค้ามนุษย์ด้านแรงงาน สตม. ปคม. ทั่วประเทศ

รายละเอียดเนื้อหา

กระทรวงแรงงาน ปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ด้านการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการ 123 นาย ลุยตรวจสอบเป้าหมายแรงงานข้ามชาติ ตามมติครม. 28 .. 64 ที่ไม่ดำเนินการตามมติ ย้ำเอาจริงไม่แค่ขู่
          วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 14.00 . นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบนโยบายและปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ด้านการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการ จำนวน 123 นาย ประกอบด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จากกรมการจัดหางาน 90 นาย คณะทำงานเฉพาะกิจต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน 13 นาย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 10 นาย และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ 10 นาย บริเวณด้านหน้าศาลาพระพุทธสุทธิธรรมบพิตร กระทรวงแรงงาน โดยมี นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้แทนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ร่วมพิธี
          นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การสนับสนุนการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องบูรณาการร่วมกัน ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลโดยการนำของ พล.. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ที่ต้องการชะลอ และหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด จากกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมาย กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการตามมาตรการต่าง เพื่อเป็นการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานข้ามชาติ โดยการบังคับใช้กฎหมายต่อแรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และสถานประกอบการ ที่จ้างแรงงานข้ามชาติทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญที่เจ้าหน้าที่ด้านการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการ จากการบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์
          “ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เรียกรับผลประโยชน์ใดๆ โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติเป็นหลัก และขอให้ได้รับความปลอดภัยในการปฏิบัติภารกิจทุกครั้ง ในนามของกระทรวงแรงงาน ขอขอบคุณสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่ได้ให้ความร่วมมือส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมปฏิบัติงานกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานในครั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว
          ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน มอบหมายตนกล่าวรายงานในพิธีปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ด้านการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการ ซึ่งในวันนี้มีท่านรัฐมนตรีสุชาติ ชมกลิ่น กรุณาให้เกียรติมอบนโยบายและเป็นประธานในพิธี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และมอบแนวทางให้เจ้าหน้าที่นำไปปฎิบัติงาน โดยที่ผ่านมากรมการจัดหางานได้ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการตามมติครม.วันที่ 28 .. 64  เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขแก่นายจ้างและแรงงานข้ามชาติ ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กำหนดระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน 64 โดยเจ้าหน้าที่จะทำแบบบันทึกข้อมูล และให้นายจ้างมาดำเนินการยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนแรงงานข้ามชาติ ภายใน 7 วัน หลังได้รับแบบบันทึกข้อมูลแรงงานข้ามชาติจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งปัจจุบัน พ้นระยะเวลาดำเนินการตามที่กำหนดแล้ว แต่พบว่ายังมีแรงงานข้ามชาติ ที่นายจ้าง สถานประกอบการยังไม่มาดำเนินการ 64,472 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.22 จากจำนวนที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสถานประกอบและบันทึกข้อมูลไว้ทั้งสิ้น 353,776 ราย ซึ่งทำให้กลุ่มดังกล่าวกลายเป็นแรงงานข้ามชาติที่มีสถานะผิดกฎหมายทันที โดยเจ้าหน้าที่ด้านการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการ จะเริ่มปฏิบัติงานโดยมีเป้าหมายตรวจสอบกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มแรก
          “สำหรับนายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หากทำผิดซ้ำมีโทษถึงจำคุก และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานอีก 3 ปี ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับตั้งแต่5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งตัวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้จนกว่าจะพ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปีรองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

+++++++++++++++++++

กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
13 ธันวาคม 2564

TOP