การใช้ “แรงงาน” ที่ถูก “กฎหมาย” จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะเกิดความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยกระทรวงแรงงาน สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นอย่างยิ่ง คำนึงถึงความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน ในการดูแลสิทธิให้ความคุ้มครองแก่แรงงานทุกคน ทุกกลุ่ม…ตลอดจนจะช่วยต่อต้านการบังคับใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ นับรวมไปถึงป้องกันปัญหา “การค้ามนุษย์” ด้านแรงงาน
ปัจจุบันประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้ “แรงงานต่างด้าว” เข้ามาทำงานในกิจการที่แรงงานขาดแคลนรวมถึงกิจการที่คนไทยไม่นิยมทำ ซึ่งในปี 2566 นี้ มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา เมียนมาและเวียดนาม เข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้วกว่า 3 ล้านคน
ที่ผ่านมา…ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนากลไกการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครอง ดูแลสิทธิของแรงงานต่างด้าวให้มีความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติสอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชน จึงมีการสนับสนุนให้แรงงานต่างด้าวเข้าไปมีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นร่วมปรึกษาหารือกับนายจ้างในการจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการให้แก่ลูกจ้างตามสัญชาติได้อย่างเหมาะสมในแต่ละประเภทกิจการ ตรงตามความต้องการของลูกจ้างเอง มิใช่นายจ้างจัดการเพียงฝ่ายเดียว… ลูกจ้างต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกคนจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับลูกจ้างคนไทย ซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานนั้น มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของลูกจ้างลงลึกในรายละเอียด อาทิ กิจกรรมออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจนโยบายการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิมุ่งเน้นไปที่การสร้างการรับรู้ให้แก่นายจ้าง สถานประกอบกิจการที่จ้างแรงงานต่างด้าว รวมทั้งกำชับให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานใน พื้นที่ให้ความสำคัญในการบูรณาการเพื่อบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกัน… คุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย
ฝากไปถึง “นายจ้าง”…“เจ้าของสถานประกอบกิจการ” ที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าว ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่การนำเข้าแรงงานต่างด้าว นำลูกจ้างมาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง และปฏิบัติต่อลูกจ้างต่างด้าวและลูกจ้างที่เป็นคนไทยอย่างเท่าเทียมกัน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เพราะไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติใดต่างก็ทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อนายจ้าง สถานประกอบกิจการด้วยกัน และหากลูกจ้างทุกคนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ในทุกช่องทางของกระทรวง แรงงาน หรือโทร.สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 ไว้บริการให้ความเป็นธรรม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ตอบคำถามและให้คำปรึกษาในภาษาเมียนมา และกัมพูชา
The “legal” employment of “workers” will help solve the labour shortage, creating security for the workforce, economy, and society. Importantly, it will help build a good reputation for the country, in line with the government’s policy under the Prime Minister and Minister of Defense, General Prayuth Chan-ocha, and the Ministry of Labour, under the Labour Minister Suchart Chomklin, who gives great importance to the management of the work of foreigners. The policies take into account the security of the country and the safety of the people to protect the rights of all workers…as well as to help combat forced labour in various forms. It counts as well as preventing problems in “human trafficking” too.
Currently, Thailand needs to hire “foreign workers” in businesses that have labour shortages, including professions that Thai people do not like to do. In 2023, over 3 million foreign workers from Laos, Cambodia, Myanmar, and Vietnam will work in Thailand.
In the past…there has been a determination to develop mechanisms to increase efficiency in protection and to take care of the rights of foreign workers to be equal, non-discriminatory, and in line with human rights principles. Therefore, foreign workers are encouraged to play a role in expressing their opinions. Foreign workers are also encouraged to participate in discussions with employers on providing welfare within the workplace for employees appropriate to their nationality and in each type of business, to meet the employees’ needs. It is not the employer who manages the welfare, only one… All foreign workers legally working in Thailand will receive the same protection as Thai workers, in line with human rights principles. Agencies under the Ministry of Labour must protect the benefits and welfare of employees. For example, mobile public relations units have created awareness and understanding of management, import, protection, and rights. Protection policies focus on creating awareness for employers and business establishments that employ foreign workers. Government agencies under the Ministry of Labour in the area are urged to focus on integrating management, importation, and protection… to protect the rights of foreign workers to be treated equally with the law as Thai workers.
“Employers”…” the owners of the establishment” that employ foreign workers, are encouraged to comply with the laws from the importation of foreign workers, to bring employees to register correctly, and treat foreign workers and Thai workers equally according to labour protection law. No matter what nationality, they work for the benefit of the employer and business establishment. If employees are not treated fairly, complaints can be made through all channels of the Ministry of Labour or by calling the Ministry of Labour’s 1506 hotline for fair service. There will be staff answering questions and providing advice in Burmese and Cambodian.